เปิดร้านอาหารคาราโอเกะ
เเถวบ้านผมเห็นเปิดอยู่ร้านนึง ครับเปิด 5-6 โมงเย็นมีสาวเสิรฟเบียร์ด้วยครับ มีคาราโอเกะเเบบเปิด พื้นที่ห้องเดียวครับหน้าร้านเอาไฟคริสมาสตร์มาติดไว้ตรงป้ายร้านทำได้ 5-6 เดือนปิดร้านขาดทุนไปหลายเงินอยู่ก็หลายหมื่น ถามว่าทำไม ถึงปิดเพราะ อาหารร้านอื่นอร่อยกว่า จะให้จ้างคนทำอร่อยๆ มาก็ไม่คุ้มเพราะร้านไม่ดึงดูดให้มากินเเถมร้านเเบบนี้เยอะเเยะ
จะให้เปิดใหญ่เลยก็ไม่ได้ไม่มีทุน ที่หนักๆเลยค่า ลิขสิทธิ์เพลง gmm rs อะไรพวกนี้ บางเดือนทำไปเเล้วได้กำไรไม่ถึง 6-7 พันบาทเลย ดังนั้นถ้าจะทำทำเลต้องดีจริงๆ อาหารอร่อย ลิขสิทธิ์ครบ ร้านบรรยากาศดี ถ้าไม่ทำเเบบนี้เเนะนำเปิดร้านขาย ส้่มตำ ไก่ย่าง อาหารตามสั่งหรือ ก๋วยเตียวมีโอกาศอยู่ได้มากกกว่า
เพิ่มเติม
ความรู้เกี่ยวกับกับการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลง
ประเภทธุรกิจและคำจำกัดความที่จัดเก็บค่าเผยแพร่และค่าลิขสิทธิ์การทำเพลง การจัดเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงฯ แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. การจัดเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงฯ ในสถานประกอบการคาราโอเกะ (Karaoke) แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.1 ธุรกิจประเภทตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ (Jukebox) คือ ธุรกิจคาราโอเกะที่ใช้ตู้แบบหยอดเหรียญ ธุรกิจคาราโอเกะประเภทนี้จะเป็นร้านอาหาร และให้ลูกค้าสามารถหยอดเหรียญร้องเพลงได้ ยกตัวอย่างธุรกิจประเภทนี้ เช่น ร้ายขายส้มตำ, ร้านอาหาร, ร้านขายอาหารตามสั่ง เป็นต้น
1.2 ธุรกิจประเภทร้านคาราโอเกะ (Control Room) คือ ธุรกิจคาราโอเกะที่ใช้เครื่องเล่น วีซีดีคาราโอเกะและแผ่นวีซีดี เปิดเล่นให้กับลูกค้า ซึ่งธุรกิจ คาราโอเกะประเภทนี้จะเปิดโดยมีห้องรวมและห้อง VIP ( กั้นเป็นห้องๆ) หรื อร้านอาหารที่เป็นตึกแถวโดยไม่มีห้อง VIP ยกตัวอย่างธุรกิจ ประเภทนี้ เช่น ค็อกเทลเล้าจ์, ผับ, บาร์คาราโอเกะ, ร้านอาหาร, ห้องอาหารตามโรงแรมต่างๆ สวนอาหารที่จัดกั้นเป็นห้องๆ เป็นต้น
ประเภทธุรกิจและคำจำกัดความที่จัดเก็บค่าเผยแพร่และค่าลิขสิทธิ์การทำเพลง การจัดเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงฯ แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. การจัดเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงฯ ในสถานประกอบการคาราโอเกะ (Karaoke) แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.1 ธุรกิจประเภทตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ (Jukebox) คือ ธุรกิจคาราโอเกะที่ใช้ตู้แบบหยอดเหรียญ ธุรกิจคาราโอเกะประเภทนี้จะเป็นร้านอาหาร และให้ลูกค้าสามารถหยอดเหรียญร้องเพลงได้ ยกตัวอย่างธุรกิจประเภทนี้ เช่น ร้ายขายส้มตำ, ร้านอาหาร, ร้านขายอาหารตามสั่ง เป็นต้น
1.2 ธุรกิจประเภทร้านคาราโอเกะ (Control Room) คือ ธุรกิจคาราโอเกะที่ใช้เครื่องเล่น วีซีดีคาราโอเกะและแผ่นวีซีดี เปิดเล่นให้กับลูกค้า ซึ่งธุรกิจ คาราโอเกะประเภทนี้จะเปิดโดยมีห้องรวมและห้อง VIP ( กั้นเป็นห้องๆ) หรื อร้านอาหารที่เป็นตึกแถวโดยไม่มีห้อง VIP ยกตัวอย่างธุรกิจ ประเภทนี้ เช่น ค็อกเทลเล้าจ์, ผับ, บาร์คาราโอเกะ, ร้านอาหาร, ห้องอาหารตามโรงแรมต่างๆ สวนอาหารที่จัดกั้นเป็นห้องๆ เป็นต้น
1.3 ธุรกิจคาราโอเกะที่ใช้เครื่องคอมพิวเต อร์ / คอมพิวเต อร์คาราโอเกะ / MIDIKARAOKE คือ ธุรกิจคาราโอเกะที่ใช้เครื่องเล่นคอมพิวเต อร์ในการร้องเพลง โดยเพลงทั้งหมดจะถูกใส่ลงในเครื่องคอมพิวเต อร์ ธุรกิจคาราโอเกะที่ใช้คอมพิวเต อร์ในการร้องเพลง (Midi File) สามารถแบ่ง ออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
1.3.1 เป็นธุรกิจที่จะเปิดโดยเน้นคาราโอเกะเป็นหลัก ไม่ได้เน้นการขายอาหาร และมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการใช้บริการร้องเพลงคาราโอเกะ ยกตัวอย่างเช่น สวนอาหารต่างๆ, ร้านอาหาร, คาเฟ่, ห้องอาหารตามโรงแรมต่างๆ เป็นต้น
1.3.2 เป็นธุรกิจที่เน้นการขายอาหารเป็นหลัก ไม่ได้เน้นการขายบริการคาราโอเกะ และไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการใช้บริการร้านเพลงคาราโอเกะ เช่น ภัตตาคาร (Restaurant) , ร้านอาหารที่มีเวทีสำหรับนักดนตรีและให้แขกสามารถขึ้นไปใช้บริการร้องเพลงฟรี
1.3.1 เป็นธุรกิจที่จะเปิดโดยเน้นคาราโอเกะเป็นหลัก ไม่ได้เน้นการขายอาหาร และมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการใช้บริการร้องเพลงคาราโอเกะ ยกตัวอย่างเช่น สวนอาหารต่างๆ, ร้านอาหาร, คาเฟ่, ห้องอาหารตามโรงแรมต่างๆ เป็นต้น
1.3.2 เป็นธุรกิจที่เน้นการขายอาหารเป็นหลัก ไม่ได้เน้นการขายบริการคาราโอเกะ และไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการใช้บริการร้านเพลงคาราโอเกะ เช่น ภัตตาคาร (Restaurant) , ร้านอาหารที่มีเวทีสำหรับนักดนตรีและให้แขกสามารถขึ้นไปใช้บริการร้องเพลงฟรี
2. การจัดเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงฯ ในสถานประกอบการ (Audio)
2.1 ธุรกิจโรงแรม (Hotel) หมายถึง สถานประกอบการที่ให้บริการห้องพัก ซึ่งเปิดเพลงในห้องพักแขกและพื้นที่ส่วนกลางของสถานประกอบการ อาทิ โรงแรม, รีส อร์ท, คอนโดมิเนียม, อาพาร์ทเมนท์ เป็นต้น ทั้งนี้ไม่รวมในส่วนของ Karaoke, Pub, Bar, Coffee shop และ ร้านอาหาร
2.2 ห้างสรรพสินค้า และซูเป อร์มาร์เก็ต (Department Store and Supermarket) - ห้างสรรพสินค้า หมายถึง พื้นที่ของห้างสรรพสินค้า (Department) ทุกชั้นทุกแผนก และพื้นที่ให้เช่า ( Arcade) ทั้งนี้ไม่ รวมถึง แผนก เครื่องใช้ไฟฟ้า / ร้านค้าต่างๆที่เช่าพื้นที่ห้างที่จดทะเบียนฯ คนละนิติบุคคล - ซูเป อร์มาร์เก็ต หมายถึง ตลาดขนาดใหญ่จ่ายของโดยวิธีหยิบของใส่ตะกร้าหรื อรถเข็น แล้วชำระเงินที่เคาท์เต อร์ครั้งเดียว ซึ่งอาจมี พื้นที่ตั้งภายในห้างสรรพสินค้าหรือไม่ก็ตาม
2.3 สายการบิน (Airline) หมายถึง สายการบินทั้งภายในและต่างประเทศที่เปิดเพลงในเที่ยวบินนั้นๆ
2.4 ศูนย์จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องเสียง (Electronic Store) หมายถึง ร้านจำหน่าย เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องเสียงต่างๆ
2.5 ตู้เพลงหยอดเหรียญ (Jukebox Audio) หมายถึง สถานประกอบการที่ใช้ตู้เพลงหยอดเหรียญ ลักษณะเพื่อการรับฟังเพียงอย่างเดียว
2.6 ร้านอาหาร / Fast Food / Food Court /Pub & Restaurant - ร้านอาหาร หมายถึง สถานประกอบการที่ให้บริการขายอาหารและเครื่องดื่มรวมถึงสวนอาหาร, ภัตตาคาร และผับ - Fast Food หมายถึง สถานประกอบการที่ขายอาหารและเครื่องดื่มที่ลูกค้าบริการตนเอง - Food Court หมายถึง สถานประกอบการที่ขายอาหารและเครื่องดื่มในลักษณะที่ต้องแลกซื้อคูปองหรือสิ่งอื่นใดแทนในการชำระเงินทั้งนี้ ร้านอาหารที่เปิดเพลงผ่านตู้เพลงหยอดเหรียญ (Jukebox Audio) จะคิดในอัตราตู้เพลงหยอดเหรียญ
2.7 ศูนย์การขายและบริการ ( Sale and Service Center) ศูนย์การขาย หมายถึง สถานประกอบการที่ทำการจำหน่ายสินค้า อาทิเช่น ร้านค้าปลีก, ร้านสะดวกซื้อ, Show Room ต่างๆ เป็นต้น ศูนย์บริการ หมายถึง สถานประกอบการที่ให้บริการลูกค้าเป็นหลัก อาทิเช่น Spa, Fitness, Health Club, สถานเสริมความงาม, ศูนย์บริการมือถือ เป็นต้น
2.8 การจัดนิทรรศการ และเทศกาล (Exhibition and Event) หมายถึง การจัดงานที่มีกำหนดระยะเวลาและสถานที่ อาทิเช่น การจัดแสดง ณ ศูนย์ประชุมฯ, ศูนย์แสดงสินค้า, Beer Garden เป็นต้น
3. การจัดเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงฯ กิจการโทรทัศน์แบบตอบรับเป็นสมาชิก (Cable TV) ธุรกิจกิจการโทรทัศน์แบบตอบรับเป็นสมาชิก หมายถึง ผู้ประกอบกิจการซึ่งให้บริการโดยการส่ง หรือ แพร่ภาพและเสียง ข่าวสาร สาธารณะ หรื อรายการอื่น ๆ รวมทั้งรายการ หรือผลงานเพลง ไปยังเครื่องรับที่สามารถรับชมการให้บริการนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าจะส่ง หรือ แพร่ภาพ และเสียงโดยผ่านระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น หรื อระบบอื่น ๆ ระบบใด ระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกันโดยการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย และ / หรือ ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ในการรับชม หรือตอบรับการเป็นสมาชิกในการรับชมรายการ
4. การจัดเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงฯ กิจการวิทยุกระจายเสียง (Radio) ” สถานีวิทยุ ” หมายถึง สถานที่สำหรับใช้ แพร่เสียง และ/หรือ ส่ง และ/หรือ ถ่ายทอด และ/หรือ กระจายเสียง รายการใดๆ ที่บุคคล และ/หรือ นิติบุคคล ซึ่งเป็นเจ้าของรายการ รวมถึง พนักงาน และ/หรือ ลูกจ้าง และ/หรือ ผู้จัดรายการ และ/หรือ ผู้ดำเนินรายการ ได้จัดทำขึ้นไม่ว่าโดยวิธีใดๆ เพื่อการแพร่เสียง และ/หรือ ส่ง และ/หรือ ถ่ายทอด และ/หรือ กระจายเสียง ข่าวสารสาธารณะ และ/หรือ สาระบันเทิงใดๆ และ/หรือ งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ ฯลฯ จากสถานีวิทยุนั้นไปยังเครื่องรับที่สามารถเปิดรับฟังการให้บริการนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่เสียง และ/หรือ ส่ง และ/หรือ ถ่ายทอด และ/หรือ กระจายเสียง โดยระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบไฟฟ้าแม่เหล็ก หรือ ระบบอื่นๆ ระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายๆ ระบบรวมกัน ซึ่งบุคคลทั่วไป สามารถเปิดรับฟังโดยเครื่องรับที่สามารถรับฟังการให้บริการนั้นได้
No comments:
Post a Comment