Popular Posts

Thursday, February 28, 2013

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม 

จุดประสงค์การเรียนรู้ (ปลายทาง)            

   ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในความหมายและบอกประเภทของผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มได้ สามารถคำนวณและบันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้อง 

จุดประสงค์การเรียนรู้ (นำทาง)

1.  อธิบายความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่มได้
2.  บอกประเภทของผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
3.  อธิบายภาษีซื้อ ภาษีขาย  ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มได้
4.  บอกประเภทเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มได้              
5.  คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
6.  บันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มได้
7.  ฝึกผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อน และคนรอบข้าง
สาระสำคัญ
1.   ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจาการขายสินค้าหรือให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการภายในประเทศ หรือมาจากต่างประเทศ โดยเก็บเฉพาะส่วนที่เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
2.    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ 
2.1     ผู้ประกอบการ
2.2    ผู้นำเข้า
2.3    ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.4    กิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร3.    ในปัจจุบัน (พ.ศ.  2550) อัตรา
           ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ  หรือ  ได้รับคืน  =    ภาษีขาย  -   ภาษีซื้อ
 5.   ภาษีซื้อ  คือ ภาษีที่ผู้ประกอบการจ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ  ภาษีซื้อเกิดขึ้นเดือนไหน ให้ถือเป็นภาษีซื้อของเดือนนั้น

6.   ภาษีขาย  คือ  ภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ  ภาษีขายเกิดขึ้นเดือนไหน  ก็ให้ถือเป็นภาษีขายของเดือนนั้น

7.   หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ จัดทำใบกำกับภาษี  รายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม  และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือนภายในวันที่  15  ของเดือนถัดไป

 เนื้อหา
1.    ความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.    ภาษีซื้อ  ภาษีขาย   ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.    เอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
5.    การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
6.    การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.  ความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม     อรุณี  อย่างธารา และคณะได้กล่าวถึงภาษีมูลค่าเพิ่มว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม  (Value Added Tax หรือใช้ตัวย่อว่า  VAT)  คือภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือบริการ และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เก็บจากลูกค้า  แล้วนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้แก่รัฐบาล  ผกาพรรณ  พรหมสาขา ณ สกลนคร ให้ความหมายภาษีมูลค่าเพิ่มว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม  หมายถึง  ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริการ  ผู้นำเข้า  โดยจัดเก็บเฉพาะมูลค่าที่เพิ่มขึ้น  การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบเขตกว้างขวาง และครอบคลุมทุกขั้นตอนในการผลิตการจำหน่ายและให้บริการ เบญจมาศ  อภิสิทธิ์ภิญโญ  และคณะ กล่าวถึงภาษีมูลค่าเพิ่มว่า     

 ภาษีมูลค่าเพิ่ม  เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอน    การผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการเหล่านั้น  ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยส่วนที่เก็บเพิ่มนั้นเรียกว่า  “มูลค่าเพิ่ม” ภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะทำการเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการต่างๆ   ที่เป็นคนสุดท้าย รวมถึงการเก็บภาษีทุกขั้นตอนของการผลิตหรือการขายสินค้าหรือการให้บริการ จากนั้นผู้ประกอบการจะนำภาษีที่เก็บได้ส่งให้กับสรรพากรทุกเดือน              

สรุป   ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศหรือเป็นผู้ได้รับบริการคนสุดท้าย  ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายจะจ่ายภาษีซื้อ 7% ในตอนซื้อสินค้า  และเรียกเก็บภาษีขาย 7% ในตอนขายสินค้า เมื่อสิ้นเดือนจะนำภาษีซื้อและภาษีขายมาหักลบกัน  ผลต่าง หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะเป็น ลูกหนี้-สรรพากร  หรือ  ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ  จะเป็น  เจ้าหนี้-สรรพากร

2.  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม        เชาวลีย์  พงศ์ผาติโรจน์  และ  วรศักดิ์  ทุมมานนท์  กล่าวถึง ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ไว้ว่า     ภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำมาใช้ในประเทศไทยเป็นแบบเต็มรูป  คือ  จะครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิต  การค้าส่ง  และการค้าปลีก  ดังนั้นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก  ผู้ผลิตสินค้า  ผู้ให้บริการ  ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก  ตลอดจนผู้นำเข้าสินค้าและผู้ส่งออก  ไม่ว่าจะประกอบการในรูปแบบบุคคลธรรมดา  คณะบุคคล  ห้างหุ้นส่วน  บริษัทจำกัด  หรือนิติบุคคลใดก็ตาม                ระดับรายได้เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณากำหนดผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ดังนี้1.   ผู้ประกอบการที่มีรายได้ระหว่างปีละ  600,000  ถึง  1,200,000  บาท  มีสิทธิเลือกว่าจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ  1.5  จากรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรืออัตราร้อยละ  7  โดยคำนวณภาษีที่ต้องชำระจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อก็ได้2.   ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกินกว่า  1,200,000  บาท  ต้องเข้าสู่ระบบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการไปจดทะเบียนเข้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม     ผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่ถึงปีละ  600,000 บาท  แต่ต้องการจะเข้ามาอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็ย่อมจะทำได้โดยขอจดทะเบียนเข้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม  ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มครบวงจรและผู้ประกอบการไม่ต้องแบกภาระภาษีเองด้วยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 82  กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  คือ       

1.   ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ

เป็นปกติธุระไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา  คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ  หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า  1.8   ล้านบาทต่อปี  มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน      

2.   ผู้นำเข้า  หมายถึง  ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร   ไม่ว่าเพื่อการใดๆ  และให้ความหมายรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้า  หรือที่ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกโดยมิใช่เพื่อการส่งออก  

3.  บุคคลที่กฎหมายกำหนดเป็นกรณีพิเศษให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  บุคคลดังต่อไปนี้   เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย  คือ                     

3.1   ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ตัวแทนดังกล่าว  

3.2   ในกรณีขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ  0    ถ้าภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือโอนสิทธิในบริการนั้นไปให้กับบุคคลที่มิใช่องค์การสหประชาชาติ  ทบวง  การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ  สถานเอกอัครราชทูต  สถานทูตสถานกงสุลใหญ่  สถานกงสุล  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่ ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการดังกล่าว                        

 3.3    ในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร  ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร  ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่

 (ก)  ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร                                

 (ข)  ผู้รับโอนสินค้า  ถ้ามีการโอนสินค้าดังกล่าว     

3.4   ในกรณีที่การควบกิจการเข้ากัน  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่  ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่    

3.5    ในกรณีโอนกิจการผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่  ผู้โอนและผู้รับโอน 3.  ภาษีซื้อ  ภาษีขาย  ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  เชาวลีย์  พงศ์ผาติโรจน์  และวรศักดิ์  ทุมมานนท์  กล่าวถึงภาษีซื้อ ภาษีขาย  ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  ไว้ว่า                                        ภาษีขาย    คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ  เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามฐานภาษีและอัตราภาษีที่กำหนดนอก

ที่มา http://nuntry.exteen.com/20080827/entry

No comments:

Post a Comment